วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

video conference

video conference เรียกอีกอย่างว่า การประชุมทางไกล


คือระบบการติดต่อสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถรับ-ส่งข้อมูลภาพ และข้อมูล เสียง ระหว่างจุดต่อจุดหรือจุดต่อหลายๆจุดโดยผ่านระบบสื่อสาร ซึ่งจะเป็นลักษณะของการโต้ตอบซึ่งกันและกันแบบสองทางหรือพูดง่ายๆก็คือระบบประชุมทางไกลที่ผสมผสานระหว่างภาพและเสียง ให้เปรียบเสมือนมีการประชุมอยู่ในห้องเดียวกัน
หัวใจในการทำงานของระบบ Video Conference คือ Codec เป็นคำย่อมาจาก Code และ Decode คือ การเข้ารหัสและการถอดรหัสจากข้อมูลภาพที่มีจำนวนเส้น 625 เส้น 25 เฟรมต่อวินาที (กรณีสัญญาณ PAL ) เมื่อแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอลแล้วจะต้องเปลี่ยนกลับเป็น Pixel หรือจุดสี ตามมาตรฐาน CCITT H.261 ซึ่งเป็นมาตรฐานสำคัญที่กำหนดในเรื่องการเข้ารหัส กำหนดจำนวนเส้นใช้เพียง 288 เส้น แต่ละ เส้นมีความละเอียด 352 pixel นั่นหมายถึงจะมีความละเอียดเท่ากับ 352x288 pixel เรียกฟอร์แมต การแสดงผลนี้ว่า Common Intermediate format และยังยอมให้ใช้ความละเอียดแบบหนึ่งในสี่ คือลดจำนวนเส้นเหลือ 144 เส้น และ pixel หรือ 176 pixel ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดของจอภาพ ถ้าใช้จอภาพขนาดเล็ก จำนวน pixel ก็ลดลงไปได้
ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่มีการรับส่งข้อมูลเป็นแพ็กเก็ต การส่งวิดีโอผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ย่อมเป็นไปได้ แต่เนื่องจากการส่งแพ็กเก็ตไอพีเป็นแบบดาต้าแกรม ดังนั้นจึงไม่รับรองช่วงระยะเวลาการเดินทางของข้อมูล เทคนิคการใช้วิดีโอคอนเฟอเรนซ์ จึงต้องมีการสร้างบัฟเฟอร์และแก้ปัญหาที่แต่ละแพ็กเก็ตมายังปลายทางไม่พร้อมกัน เรียกปัญหานี้ว่า jitter


การใช้ video conferenceกับการศึกษา
แม้แต่ในสถาบันการเรียนการสอนเช่นมหาวิทยาลัยก็ให้ความสำคัญของการเรียนการ สอนหลายสถาบันมีปัญหาเรื่องขาดแคลนอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญโดยผู้สอนไม่จำเป็นต้อง เดินทางไปสอนถึงสถานศึกษานั้นๆผู้สอนอาจจะอยู่ที่กรุงเทพฯแล้วทำการสอนไปยังต่างจังหวัดได้ซึ่งช่วยลดปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการศึกษาลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางของสถานศึกษาดังนั้นวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์เป็นเทคโนโลยีการสื่อสาร ข้อมูลทำให้สามารถส่งภาพเสียงได้อย่างรวดเร็วมีแนวโน้มที่จะนำมาแก้ปัญหาต่างๆเหล่านี้ได้อย่างดี
ส่วนในด้านการศึกษา Video conference นับเป็นนวัตกรรมของศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งผิดแปลกแตกต่างจากการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบเดิม ๆ ที่ผ่านมา แต่นี่คือการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยที่ทำให้สถาบันการศึกษา มีทางเลือกมากยิ่งขึ้นที่จะจัดการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลายบนมาตรฐานและคุณภาพที่กำหนดไว้ ความสำเร็จที่เกิดขึ้นมีหลากหลายด้าน
ด้านผู้เรียน ไม่ต้องเดินทางเข้ามาที่สถานศึกษา ลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการเดินทาง ประหยัดเวลาในการเดินทาง ลดภาระค่าเช่าหอพัก เป็นการพัฒนาตัวเองในเรื่องเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย
              ด้านผู้สอนไม่ต้องเดินทางไปสอนตามสถานที่ต่าง ๆ และยังสามารถพัฒนาตนเองด้วยการเรียนรู้รูปแบบวิธีการจัดการเรียนรู้ โดยสื่อเทคโนโลยีผ่านระบบ Video conference ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และมีประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ๆ ร่วมกับวิทยากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญอย่างแท้จริง นำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปพัฒนาต่อยอดการจัดการเรียนรู้ในเวลาปกติ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
              ด้านผู้บริหารสถานศึกษามีรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ทันสมัย สะดวก รวดเร็ว ประหยัดงบประมาณ ประหยัดทรัพยากร และมีคุณภาพ
การใช้งานตามวัตถุประสงค์
ในปัจจุบัน สำนักคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาการใช้งานระบบ
Video Conferencing โดยแบ่งตามวัตถุประสงค์ออกเป็น 3 ประเภท คือ
- การใช้ระบบ
Video Conferencing สำหรับการประชุมข้ามวิทยาเขต ข้ามหน่วยงาน
- การใช้ระบบ
Video Conferencing สำหรับการเรียนการสอนทางไกล (Distance Learning)
- การใช้ระบบ
Video Conferencing สำหรับการสอบวิทยานิพนธ์ข้ามประเทศ
นอกจากนี้ระบบ
Video Conferencing ยังมีคุณสมบัติพิเศษอื่นๆ อีก อาทิTransfer File รับ-ส่ง แฟ้มข้อมูลเช่น MS Word หรือ MS Excel เป็นต้น
โต้ตอบ ด้วยการเขียนผ่าน
White Board ของโปรแกรม
เปิด
Share desktop เพื่อดู Presentation ได้พร้อม ๆ กัน
มาตรฐานของระบบ Video Conference

เพื่อให้ระบบวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์มีมาตรฐานที่สามารถทำงานร่วมกันได้กับอุปกรณ์
ของบริษัทต่างๆ ที่ผลิตออกมาทางITU-Tซึ่งเป็นองค์กรด้านโทรคมนาคมสากลจึงได้
กำหนดมาตรฐานระบบการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ เป็น 4 หมวดหลัก ๆ คือ
H.320เป็นมาตรฐานที่ใช้ในเครือข่ายWANเป็นมาตรฐานที่ได้รับความนิยมในครั้ง
แรกๆที่มีการใช้ระบบVCSเนื่องจากรองรับเครือข่ายได้หลายประเภทเช่นISDN
(Intergrated Service Digital Network) Leased Lineรวมทั้งวงจรเช่าอื่นๆ เนื่องจาก
มาตรฐาน H.320 นี้ให้คุณภาพทั้งภาพและเสียงดี อีกทั้งค่าใช้จ่ายไม่สูง จึงทำให้เป็นที่
นิยม นำมาใช้ในเชิงธุรกิจ ทางด้านการศึกษา
H.321 และ H.310 เป็นมาตรฐานที่รองรับระบบเครือข่าย ATM เพื่อให้ได้คุณภาพ
ของภาพและเสียงที่ดีที่สุดโดยทั่วไปใช้ในอาคารหรือในหน่วยงานเดียวกัน ซึ่งในปัจจุบัน
ไม่ค่อยเป็นที่นิยมใช้กัน
H.323 เป็นมาตรฐานที่รองรับการใช้งานทั้งเครือข่าย LAN และ WAN โดยมีการ
ส่งผ่านข้อมูลโดยใช้ IP Protocol เป็นหลัก ซึ่งมีคุณภาพที่ดีในระดับเดียวกับ H.320 โดย
มาตรฐานนี้ได้รับความนิยมแพร่หลายอยู่ในปัจจุบันและมาแทนที่มาตรฐาน H.320 ใน
ปัจจุบันเนื่องจากใช้งานง่าย และปัจจุบันมีอุปกรณ์ที่ใช้งานร่วมกันได้เยอะ ทำให้มีการ
นำมาใช้งานอย่างแพร่หลาย
H.324 เป็นมาตรฐานที่ใช้ในเครือข่ายโทรศัพท์ ซึ่งมีคุณภาพค่อน ข้างต่ำจึงไม่ได้
รับความนิยมในปัจจุบัน
อุปกรณ์ที่สำคัญของ Video Conference
โคเด็ก (CODEX)
Codec เป็นคำย่อมาจาก CodeและDecodeเป็นตัวเข้ารหัสสัญญาณภาพและเสียงที่ได้จากกล้องแลtไมโครโฟนส่งผ่านเส้นทางสื่อสารไปยังอีกฝั่งหนึ่งรวมถึงถอดรหัสสัญญาณที่ได้รับมาจากอีกฝั่งให้กลับเป็นสัญญาณภาพและเสียงแสดงบนจอและลำโพง เส้นทางสื่อสารขนาด 384Kbpsขึ้นไปสามารถให้คุณภาพในระดับที่ยอมรับโดยหลักการทำงานของCODECจะแปลงสัญญาณ อนาล็อคทั้งภาพและเสียงให้เป็นสัญญาณดิจิตอลและจะบีบสัญญาณให้เล็กลงโดยดำเนินข้อมูลภายในเฟรมเดียวกัน CODECเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดของระบบหลักการทำงาน

กล้อง
เป็นกล้องทีวีที่ใช้ในการจับภาพผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อส่งเข้า CODEC แปลงและบีบอัดสัญญาณ มีระบบเซอร์โวเพื่อควบคุมมาจากระยะไกลให้ปรับมุมเงยมุมก้มส่วนซ้ายขวา และซูมภาพได้ ปกติจะมาพร้อมชุดอุปกรณ์ Codec
จอภาพ
แสดงภาพของผู้เข้าร่วมประชุมทั้งจากระบบต้นทางและปลายทางเป็นจอภาพที่ใช้กับระบบ PAL
หรือTSCภาพที่ปรากฏมีระบบรวมสัญญาณเพื่อแบ่งจอภาพเป็นจอเล็ก ๆเพื่อดูปลายทางแต่ละด้าน
หรือดูภาพของตนเองระบบจอภาพอาจขยายเป็น จอใหญ่ขนาดหลายร้อยนิ้วก็ได้
ไมโครโฟน (Microphone) 
ทำหน้าที่รับเสียงจากผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อส่ง
ไปยังระบบเสียงปลายทาง


แป้นควบคุม (Control Key Pad)
แป้นควบคุมทำหน้าที่ควบคุมกล้องเสียงและเลือกส่งภาพจากแหล่งต่างๆไปยังระบบปลายทาง เป็นสิ่งที่ใช้สำหรับการควบคุมระบบ เช่น ควบคุมการปรับมุมกล้องที่ปลายทางระยะห่างไกล การเลือกการติดต่อปลายทาง การปรับเสียง ปรับระบบสื่อสารต่าง
หลักการทำงานมีวิธีการอย่างไร ?
1. เชื่อมต่อสัญญาณภาพและเสียงอุปกรณ์ทั้งหมดให้เรียบร้อย ได้แก่ Codec Network
กล้องเสริม,จอโทรทัศน์, Projector, เครื่องนำเสนอ, Computer, เครื่องบันทึก, ระบบเสียงชุมประชุม (ตามความต้องการใช้งาน)
2. เชื่อมต่อ Codec เข้ากับระบบ Network เพื่อ Config IP ให้กับ Codec
3. ทดสอบการแสดงผลของภาพและเสียงในฝั่งของตนเองให้ถูกต้อง เมื่อติดตั้งและ
 ทดสอบเรียบร้อยแล้วก็ให้ทำการติดต่อกับอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อทำการทดสอบ Conference    ระหว่างวิทยาเขตต่อไปหลักในการจัดวางตำแหน่งอุปกรณ์ระบบการประชุมทางไกล
ตัวอย่างแผนภาพการเชื่อมต่อ Video Conference


จากภาพข้างบนหลักการทำงานของการเชื่อมต่อวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ขั้นตอนการทำงานเริ่มจากติดตั้งชุดอุปกรณ์ประกอบด้วย กล้องคอนเฟอร์เรนซ์ , Codec, Microphone , ลำโพง และ จอภาพ เป็นการต่ออุปกรณ์ของยี่ห้องโพลีคอมที่มีคุณสมบัติเฉพาะสามารถประชุมกันได้ 4 ที่ โดยไม่ต้องผ่าน MCUซึ่งจากภาพยกตัวอย่างการประชุมคอนเฟอร์เรนซ์ส่วนกลาง (กรุงเทพฯ) ไปยังต่างจังหวัดทั้งหมด 3 จังหวัดซึ่งแต่ละจังหวัดจะมีหมายเลขไอพีสาธารณะ (public IP)โดยการทำงานของคอนเฟอร์เรนซ์ เริ่มจากส่วนกลางเป็นเจ้าภาพในการประชุม จากนั้นทั้ง 3 จังหวัด จะทำการ call เข้ามาที่ส่วนกลางเพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์โคเด็ก ซึ่งแต่ละsiteจะมีโคเด็กเป็นตัวรับและส่งหรือเข้ารหัสและถอดรหัส ผ่านช่องสัญญาณ ADSL ซึ่งแต่ละsite จะสามารถเชื่อมต่อกันได้ผ่านหมายเลขไอพี เมื่ออุปกรณ์เชื่อมต่อกันแล้วจะสามารถสนทนากันได้

ตัวอย่างแผนภาพการเชื่อมต่อวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ผ่าน MCU


จากภาพข้างบนหลักการทำงานของการเชื่อมต่อวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ผ่าน MCU
ขั้นตอนการทำงานเริ่มจากติดตั้งชุดอุปกรณ์ประกอบด้วย กล้องคอนเฟอร์เรนซ์ , Codec, Microphone,ลำโพง,จอภาพเป็นการต่ออุปกรณ์ของยี่ห้องโพลีคอมผ่านอุปกรณ์ MCUสามารถรองรับการประชุมได้หลายจุดซึ่งจากภาพยกตัวอย่างการประชุมคอนเฟอร์
เรนซ์ ส่วนกลาง (กรุงเทพฯ) ไปยังต่างจังหวัดทั้งหมด 4 จังหวัดซึ่งแต่ละจังหวัดจะมีหมาย
เลขไอพีสาธารณะ (public IP) โดยการทำงานของคอนเฟอร์เรนซ์เริ่มจากโคเด็กเชื่อมต่อ
หมายเลขไอพีกับ MCU(Multipoint Control Unit(MCU) เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่รวบรวม,
ประมวลผลและควบคุมการประชุมที่มากกว่า 2 การประชุมขึ้นไปอุปกรณ์ชนิดนี้มีทั้งแบบ
ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ MCU ที่ใช้ Software base จะทำงานบนระบบ
ปฏิบัติการวินโดว์NT/2000 server,Unix และ Linux) และต่อ Notebook เข้ากับ MCU เพื่อใช้ Control การทำงานทั้งหมดจากนั้นทุก site จะทำการ call เข้ามาที่ส่วนกลาง
โดยผ่านช่องสัญญาณ ADSL โดยมี H.323 เป็นตัวเชื่อมต่ออุปกรณ์ Video conference Over IP สามารถคุยกับอุปกรณ์ Video Conference Over ISDN จากนั้นผู้ที่ทำหน้าที่ control จะทำการเชื่อมต่อทุก site ให้ทำงาน

ตัวอย่างแผนภาพการเชื่อมต่อวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ด้วยการ VPN
จากภาพข้างบนหลักการทำงานของการเชื่อมต่อวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ด้วยการ VPN
ขั้นตอนการทำงานเริ่มจากติดตั้งชุดอุปกรณ์ประกอบด้วย กล้องคอนเฟอร์เรนซ์ , Codec,Microphone , ลำโพง,จอภาพ เป็นการต่ออุปกรณ์ของยี่ห้องโพลีคอมผ่านอุปกรณ์ MCUสามารถรองรับการประชุมได้หลายซึ่งจากภาพยกตัวอย่างการประชุมคอนเฟอร์เรนซ์ส่วนกลาง (กรุงเทพฯ) ไปยังต่างจังหวัดทั้งหมด 4 จังหวัด โดยให้แต่ละจังหวัด VPN (เปรียบเสมือนถนนส่วนตัว เชื่อมต่อกันระหว่างต้นทางกับปลายทาง สามารถส่งข้อมูลต่างๆ โดยข้อมูลที่ส่งนั้นจะถูกส่งผ่านไปในถนนที่สร้างไว้เท่านั้นทำให้มีความปลอดภัยสูง)เข้ามาที่ส่วนกลาง ซึ่งแต่ละจังหวัดจะมีหมายเลขไอพีส่วนตัว (Private IP) โดยการทำงานของคอนเฟอร์เรนซ์เริ่มจากโคเด็กเชื่อมต่อหมายเลขไอพีกับ MCU จากนั้นต่อ Notebook เข้ากับ MCU เพื่อใช้ Control การทำงานทั้งหมด แล้วเชื่อมต่อ MCU เชื่อมต่อหมายเลขไอพีกับ Switchและต่อSwitchเข้ากับ Router จากนั้นทุก site จะทำการ call เข้ามาที่ MCU ผ่านทาง VPN จากนั้นผู้ที่ทำหน้าที่ control จะทำการเชื่อมต่อทุก site ให้ทำงาน
วิธีการใช้งานโปรแกรมวิธีการติดตั้ง และใช้งานโปรแกรม Camfrog
หลังจากนั้นทำการ
install program แล้วเริ่มทำการ Register Id กันได้เลย
กรอกข้อมูล ตามรูป 1
,2




ระบบจะทำการ check id หากผ่านก็จะปรากฎหน้าจอเสร็จสิ้นดังรูปด้านล่าง
หลังจากนั้นทำการ sign in ตามรูปด้านล่าง


เมื่อ sign in ผ่านเสร็จแล้วจะปรากฏหน้าจอข้างล่าง


จากภาพจะเห็นปุ่มด้านล่าง ได้แก่ IM , Join Chat , Add Contact, Setting IM คือการส่ง Instant message คล้าย msn เมื่อกดทำการพิมพ์ชื่อคนที่เราต้องการส่งข้อความหา จากนั้นกด OK จะปรากฏหน้าจอดังรูปด้านล่าง

Join Chat คือการเข้า chat ในห้อง Chat room เมื่อกดจะให้เรากรอกชื่อห้องในที่นี้กรอก PublicHot ได้เลย Chat room ของเว็บเราเมื่อกด OK ก้อจะเข้าสู่ระบบห้อง กด yes เพื่อยอมรับตามข้อตกลงของห้อง


เมื่อเข้ามาแล้วก้อจะเป็นห้อง chat room โดยด้านซ้ายจะเป็นรายชื่อคนออนไลน์ในห้องด้านล่างเป็นที่พิมพ์มี emotion เล็กน้อย ส่วนปุ่ม Talk หรือ Handfree ไว้สำหรับพูดผ่านไมค์


ตัว Icon รูปคนหน้าชื่อที่มีกล้อง คือ ID นั้นมีการต่อเวปแคม สามารถกดที่ชื่อก้อจะปรากฎภาพดังรูป น้องจีนน้องสาวสุดน่ารักของห้องเรา


ข้อดี ข้อเสีย
ข้อดีของ Video Conference

1. ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางจากที่ต่าง ๆ เพื่อมาประชุมหรืออบรม
2. สามารถทำการประชุมเพื่อวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา และตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว
3.สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนให้ผู้เรียนที่อยู่ห่างไกลสามารถ
ร่วมเรียนด้วยได้
4. สามารถลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการเดินทางได้
ข้อเสียของ Video Conference
1.       เกิดการผิดพลาดในการส่งสัญญาณได้ง่าย ซึ่งปรากฏการธรรมชาติก็สามารถ
ทำให้สัญญาณล่มหรือหายได้
2. การรับ-ส่งสัญญาณต้องมีอุปกรณ์ที่พร้อมและมีประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกัน
 
ระบบการเรียนการสอนทางไกล ผ่านระบบ VDO Conference 1/2
การพัฒนานวัตกรรมการศึกษาระบบการเรียนการสอนทางไกล ผ่านระบบ VDO Conference โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์พะเยาปรากฏการณ์ ณ โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์พะเยาโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์พะเยา

 
ตัวอย่าง Video Conference

แหล่งอ้างอิง     
โพสต์วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2556

1 ความคิดเห็น:

  1. Video Conference สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนให้ผู้เรียนที่อยู่ห่างไกลสามารถร่วมเรียนด้วยได้

    ตอบลบ