วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

แผ่นดินไหว


ผลกระทบจากเหตุการณ์ภัยพิบัติ ซึ่งแต่เดิมคนไทยมักคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว ไม่ให้ความสำคัญและใส่ใจมากนัก แต่ในช่วงระยะเวลาเพียง 10 กว่าปีที่ผ่านมาเท่านั้น มีเหตุการณ์ภัยพิบัติจากธรรมชาติได้เกิดขึ้นและคร่าชีวิตผู้คนไปเป็นจำนวนมากมาย โดยเฉพาะเหตุการณ์ภัยพิบัติจากแผ่นดินไหว ซึ่งมักจะเป็นสาเหตุเบื้องต้นในการเกิดภัยและความเสียหายอื่นๆ ตามมา เช่น สึนามิ หรือเพลิงไหม้ เป็นต้น

 

รูปที่ 1 ความเสียหายจากแผ่นดินไหว             
          แผ่นดินไหวเกิดได้จาก 2 กรณี คือ 1.จากการกระทำของมนุษย์ เช่น จากการทดลองระเบิดปรมาณู หรือการทดลองระเบิดประเภทต่าง ๆ ซึ่งมักจะคาดการณ์ความรุนแรงได้ในระดับหนึ่ง และ 2 เกิดจากธรรมชาติ ซึ่งจะเกิดจากการเคลื่อนตัวของพื้นดินซึ่งวางตัวอยู่บนแผ่นเปลือกโลกซึ่งมีอยู่ 13 แผ่น ซึ่งได้แก่ แผ่นอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ยูเรเซีย แอฟริกา อินเดีย แปซิฟิก แอนตาร์กติก ฟิลิปปินส์ อาหรับ สกอเทีย โกโก้ แคริเบียน โดยแผ่นเปลือกโลกจะมีการเคลื่อนตัวอยู่ตลอดเวลาเพียงแต่จะมากหรือน้อยเท่านั้น โดยการเคลื่อนที่จะมีอยู่ 3 ลักษณะใหญ่ๆ คือ 1.เคลื่อนที่เข้าหากัน 2 เคลื่อนที่แยกออกจากกันและ 3.เคลื่อนที่ขนานกัน โดยการเคลื่อนตัวแต่ละแบบก็จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาที่แต่ต่างกัน เช่น การเกิดแผ่นดินไหว การเกิดเทือกเขา เกิดภูเขาไฟและการเกิดแร่ชนิดต่างๆ เป็นต้น ( ที่มาข้อมูล : กรมทรัพยากรธรณี www.dmr.go.th )
รูปที่ 2 แสดงแผ่นเปลือกโลกทั้ง 13 แผ่น
    ในกรณีของการเกิดแผ่นดินไหวนั้นจะเกิดบริเวณรอยแยกของแผ่นเปลือกโลกแต่ละแผ่นที่มีการเคลื่อนตัว โดยจุดศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหว ( Focus ) มักอยู่บริเวณรอยเลื่อน โดยจะอยู่ลึกลงไปใต้ดินเป็นระยะที่แตกต่างกันออกไป และจุดที่อยู่เหนือกว่า ณ.บริเวณผิวโลก เรียกว่า จุดเหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหว หรือ epicenter  โดยที่มาตรวัดระดับความรุนแรงแบ่งออกเป็นหลายระดับ ดังนี้
                                   รูปที่ 3 แสดงศูนย์กลางแผ่นดินไหวและลักษณะรอยเลื่อน
ขนาด   1-2.9    เกิดการสั่นไหวเล็กน้อย ผู้คนเริ่มมีความรู้สึกถึงการสั่นไหว บางครั้งรู้สึกเวียนศรีษะ
ขนาด   3-3.9   เกิดการสั่นไหวเล็กน้อย ผู้คนที่อยู่ในอาคารรู้สึกเหมือนรถไฟวิ่งผ่าน
ขนาด   4-4.9   เกิดการสั่นไหวปานกลาง ผู้คนที่อาศัยอยู่ทั้งภายในและนอกอาคาร รู้สึกถึงการสั่นสะเทือน วัตถุห้องแขวนแกว่งไกว
ขนาด   5-5.9   เกิดการสั่นไหวรุนแรงเป็นบริเวณกว้าง เครื่องเรือนและวัตถุมีการเคลื่อนที่
ขนาด   6-6.9   เกิดการสั่นไหวรุนแรงมาก อาคารเริ่มเสียหาย พังทลาย
ขนาด   7 ขึ้นไป เกิดการสั่นไหวร้ายแรง อาคาร สิ่งก่อสร้างมีความเสียหายอย่างมาก แผ่นดินแยก วัตถุที่อยู่บนพื้นถูกเหวี่ยงกระเด็น


วีดีโอแผ่นดินไหว http://atcloud.com/stories/76638
ข้อควรระวังเมื่อเกิดแผ่นดินไหว
การเตรียมพร้อม
๑. ควรมีไฟฉาย ถ่านไฟฉาย และกระเป๋ายาเตรียมไว้ในบ้าน และแจ้งให้ทุกคนทราบว่าเก็บไว้ที่ไหน
๒. ควรศึกษาการปฐมพยาบาลขั้นต้น เพื่อใช้ในยามฉุกเฉิน
๓. ควรทราบตำแหน่งวาล์วปิดถังแก๊ส ปิดน้ำ และตำแหน่งสะพานไฟฟ้าสำหรับตัดกระแสไฟฟ้า และทุกคนในบ้านควรจะ ทราบวิธีการปิดวาล์วถังแก๊ส และยกสะพานไฟฟ้า
๔. อย่าวางของหนักไว้บนชั้นหรือหิ้งสูงๆ เพราะเมื่อมีการสั่นไหว สิ่งของอาจตกลงมาเป็นอันตรายต่อคนในบ้าน
๕. ผูกเครื่องใช้ให้แน่นกับพื้น และยึดเครื่องประดับบ้านหนักๆ เช่น ตู้ถ้วยชาม ไว้กับผนัง
๖. ควรวางแผนการในกรณีที่ทุกคนอาจต้องพลัดพรากจากกัน ว่าจะกลับมารวมกันที่ไหน อย่างไร
เมื่อเกิดแผ่นดินไหว
๑. อยู่อย่างสงบ ควบคุมสติ อย่าตื่นตกใจ ถ้าอยู่ในบ้านก็ให้อยู่ในบ้าน ถ้าอยู่นอกบ้านก็ให้อยู่นอกบ้าน ส่วนใหญ่คนที่ได้รับบาดเจ็บเพราะวิ่งเข้า - ออกจากบ้าน
๒. ถ้าอยู่ในบ้านก็ให้ยืนอยู่ในส่วนของ บ้านที่มีโครงสร้างแข็งแรง และควรอยู่ห่างจากหน้าต่างและประตูที่จะออกข้างนอก
๓. ถ้าอยู่ในที่โล่ง ให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้าหรือสิ่งห้อยแขวนต่างๆ ที่อาจตกลงมา
๔. อย่าใช้เทียนไข ไม้ขีดไฟ หรือสิ่งที่ทำให้เกิดเปลวไฟ เพราะอาจมีแก๊สรั่วอยู่ในบริเวณนั้น
๕. ถ้ากำลังอยู่ในรถยนต์ ให้หยุดรถ และอยู่ในรถต่อไปจนกว่าการสั่นสะเทือนจะหยุดลง
๖. ห้ามใช้ลิฟต์โดยเด็ดขาดขณะเกิดแผ่นดินไหว
๗. หากอยู่ใกล้ชายทะเล ให้อยู่ห่างจากฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่ง
เมื่ออาการสั่นไหวสงบลง
๑. ควรตรวจดูตัวเองและคนใกล้เคียงว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่ ถ้ามีการบาดเจ็บ ให้ทำการปฐมพยาบาลก่อน หากว่าบาดเจ็บมาก ให้นำส่งสถานพยาบาลต่อไป
๒. ควรรีบออกจากตึกที่เสียหาย เพื่อความปลอดภัยจากอาคารถล่มทับ
๓. ควรตรวจท่อน้ำ แก๊ส และสายไฟฟ้า หากพบส่วนที่เสียหาย ปิดวาล์วน้ำหรือถังแก๊ส และยกสะพานไฟฟ้า
๔. ตรวจแก๊สรั่วโดยการดมกลิ่น ถ้าได้ กลิ่นแก๊ส ให้เปิดหน้าต่างและประตูทุกบาน รีบออกจากบ้าน และแจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
๕. เปิดวิทยุฟังคำแนะนำฉุกเฉิน อย่าใช้โทรศัพท์ถ้าไม่จำเป็น เพราะอาจจะใช้ส่งข่าว
๖. อย่ากดน้ำล้างโถส้วมจนกว่าจะตรวจสอบว่า มีสิ่งตกค้างอยู่ในท่อระบายหรือไม่
๗. สวมรองเท้าหุ้มส้น เพื่อป้องกันเศษ แก้วและสิ่งหักพังทิ่มแทง
แหล่งอ้างอิง http://sscc.isit.or.th
โพสต์วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2556

3 ความคิดเห็น:

  1. ได้ความรู้เพิ่มมากขึ้นเลยคะ

    ตอบลบ
  2. เนื้อหาดีมากเป็นการบอกการเตรียมตัวการรีบมือแผ่นดินไหวที่จะเกิดหรือไม่เกิดแต่เราทุกคนควรรู้เพื่อการรับมือภัยพิบัติซึ่งแผ่นดินไหวเกิดได้จาก 2 กรณี คือ 1.จากการกระทำของมนุษย์ และ 2 เกิดจากธรรมชาติ ซึ่งจะเกิดจากการเคลื่อนตัวของพื้นดินซึ่งวางตัวอยู่บนแผ่นเปลือกโลกซึ่งมีอยู่ 13 แผ่นมีการเคลื่อนตัวอยู่ตลอดเวลาเพียงแต่จะมากหรือน้อยเท่านั้น มีการแนะนำการเตรียมพร้อมเมื่อเกิดแผ่นดินไหวง่ายๆ 6 ข้อ ซึ่งเป็นการแนะนำที่ดีค่ะ

    ตอบลบ